มงคลสูตรคำฉันท์
ประวัติผู้แต่ง
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ
วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๑มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓
เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าองค์ที่ ๒ ในจำนวน ๙
พระองค์ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี
พระพันปีหลวง พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ ณ พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังชั้นใน
เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช ๒๔๕๓ และเสด็จสวรรคตเมื่อ
วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ รวมพระชนมพรรษา ๔๖ พรรษา
พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภท
เช่น บทละคร บทความ สารคดี นิทาน นิยาย เป็นต้น
บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องยังได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีหรือเป็นหนังสือที่แต่งดี
อาทิ หัวใจนักรบ เป็นยอดบทละครพูดร้อยแก้ว มัทนะพาธาเป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" ซึ่งหมายถึงนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ และใน พ.ศ.
๒๕๑๕ พระองค์ได้รับการยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
หรือ ยูเนสโก (UNESCO)ให้ทรงเป็น 1ใน5 นักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ของไทย
เนื้อเรื่องย่อ
เริ่มต้นกล่าวถึงมนุษย์และเทวดาได้พยายามค้นหาคำตอบว่า อะไรคือมงคล
เป็นเวลานานถึง ๑๒ ปี
พระอานนท์ได้เล่าให้ฟังว่าเมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ ณ
เชตวันมหาวิหารซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายไว้ ณ เมืองสาวัตถี
มีเทวดาองค์หนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในเวลาปฐมยามแล้วได้ทูลถาม เรื่องมงคล พระพุทธองค์จึงตรัสตอบถึงสิ่งที่ไม่เป็นมงคล
๓๘ ประการ หลังจากรับฟังเทศนาจบ เหล่าเทวดาก็บรรลุธรรม
มงคลทั้ง ๓๘ ประการ
พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นคาถาบาลีเพียง ๑๐ คาถา แต่ละคาถาประกอบด้วย ๓-๕ ข้อ
และมีคาถมสรุปตอนท้าย ๑ บท ชี้ให้เห็นเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ถ้าปฏิบัติตามมงคลอันสูงสุด ๓๘ ประการนี้ได้
จะไม่พ่ายแพ้แก่ข้าศึกศัตรูและจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองสืบไป
อ่านเพิ่มเติม..
อ่านเพิ่มเติม..